แชร์

โรคนอนไม่หลับ

อัพเดทล่าสุด: 25 มี.ค. 2024
133 ผู้เข้าชม
โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ ปัญหานอนไม่หลับ เครียด วิตกกังวล

ความเครียด (Stress) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งในขณะที่ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดนั้น ร่างกายจะถูกกระตุ้นและทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ร่างกาย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เป็นต้น

หากภาวะเครียดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีอาการซึมเศร้า กล้ามเนื้อเกร็งตัว นอนไม่หลับ ปวดประจำเดือน สมรรถภาพทางเพศลดลง ตลอดจนอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ตามมาเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น 

ลักษณะอาการเครียด นอนไม่หลับ

  • อาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ซึ่งจะทำให้มีแนวโน้มการเกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูกได้ง่าย ปวดบริเวณคอหรือหลัง มีอาการเบื่ออาหารหรืออาจมีอาการรับประทำนมากเกินไป อยากสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น กล้ามเนื้อสั่นหรือกระตุก ความต้องการทางเพศลดลง 
  • อาการทางจิตใจ เช่น เครียดและวิตกกังวล โกรธง่าย แยกตัวเองออกจำกสังคม มองโลกในแง่ร้าย ขาดสมาธิ หงุดหงิด ขุ่นเคืองง่าย ขี้โมโหมากขึ้น ต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมแสดงออกที่ผิดปกติ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากตกอยู่ในสภาวะเครียดนานเกินไปอำจทำให้เกิดเป็นโรคจิตหรือโรคประสาทได้ 

 

จะจัดการกับความเครียดได้อย่างไร 

  • หาสาเหตุของความเครียด  แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หากแก้ไขไม่ได้อาจขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากเราพียงผู้เดียว 
  • กิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การนวด การพักผ่อน การแช่น้ำอุ่น รับประทำนอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง ของหวาน อาหารที่มีไขมันสูง ของทอด น้ำหวาน ชา กาแฟ สุราหรือสูบหรี่ 
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช ไข่ ผักสีเขียวสด และถั่ว ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 4 การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การคิดบวก ยิ้มบ่อยๆ การสร้างอารมณ์ขัน การฟังเพลง การดูหนัง การใช้ความเงียบ การวางแผนบริหารจัดกำรเวลาให้ดี 
  • การทำสมาธิ ฝึกการหายใจ ฝึกจิตให้นิ่ง 
  • หาที่ปรึกษาที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา หรืออาจช่วยหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา หากประสบภาวะเครียดเรื้อรัง อาจลองปรึกษาจิตแพทย์ได้เช่นกัน 

 

อาหารเสริมกับความเครียด 
ในปัจจุบัน การทำงานภายใต้การแข่งขันและกดดัน ทำให้เราไม่มีเวลาจัดหาอาหารที่ต้องการได้สมบูรณ์และครบถ้วน แถมยังลดความเครียดได้ยาก จึงควรใช้อาหารเสริมหรือวิตามินรวมเพื่อบำรุงร่างกายและบำรุงสมองจากภาวะเครียดซึ่งได้แก่ 

  • วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงระบบประสาท สมองและระบบกล้ามเนื้อ
  • ไบโอติน (Biotin) และกรดโฟลิค (Folic Acid) ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ลดการ ตึงตัวของกล้ำมเนื้อคอ บ่าไหล่ เมื่อประสบกับภาวะเครียด
  • แมกนีเซียม (Magnesium) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายลดการตึงตัว
  • สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สังกะสี วิตามินซี ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ส่งผลเสียต่อร่างกายจากภาวะเครียดได้ 

 

จำนวนชั่วโมงการนอนหลับที่แนะนำในแต่ละช่วงอายุ

  • แรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป
  • ขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้น
  • เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง
  • เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง
  • เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง

 

สุขลักษณะเพื่อการนอนหลับที่ดี (Sleep hygiene) ควรกระทำควบคู่กับการรักษาหรือใช้ยาไปด้วยเพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรรมส่งเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ

  • พยายามนอนหลับและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
  • นอนหลับอย่างเพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ที่ใช้อุปกรณ์สื่อสารเป็นกิจวัตรควรปิตอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารปริมาณมากๆ ในมื้อค่ำ
  • งดการดื่มน้ำเป็นปริมาณมาก ก่อนนอนสัก 3 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้ตื่นกลางตึก ถ้าหิวน้ำให้จิบพอหายคอแห้ง
  • ควรจัดห้องนอนให้เป็นระเบียบมีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • ควรให้ห้องนอนมืดสนิทขณะนอนหลับเพราะแสงบางส่วนอาจรบกวนการนอนได้

 

Magicus Sesamina Col น้ำมันงาดำสกัดเย็นบริสุทธิ์ (60 Softgel)

รายละเอียดผลิตภัณฑ์

 

   

บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าอักเสบ อาหารเสริมข้อเข่าอักเสบ
เมื่อผิวกระดูกอ่อนเกิดการสึกหรอตามกระบวนการสูงอายุตามวัย หรือเหตุจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของข้อ กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่างๆ ผุพังหรือบางลง กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ
ผมร่วง ผมหลุดร่วงง่าย ผมบาง
ปัญหาผมหลุดร่วงมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในร่างกายเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยากกว่า ปัจจัยภายนอก
หน้าโทรม หมองคล้ำ
การที่เรารู้สาเหตุที่ทำให้หน้าโทรม หมองคล้ำ ไม่สว่างกระจ่างใส จะทำให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด และ ใครที่มีปัญหาเหล่านี้ ถ้าหากทำตามคำแนะนำแก้ปัญหาผิวหน้าโทรม หมองคล้ำ เป็นประจำก็จะช่วยให้ผิวกลับมาดูสดใสขึ้นได้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy